พลาสติกกับบรรจุภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน

เราต่างก็ทราบดีแล้วว่า “พลาสติก” ได้เข้ามาอยู่ประจำวันของพวกเรามานานพอสมควรแล้ว บางคนได้กล่าวไว้ว่าพลาสติกนั้นเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม แต่แล้วเราทำไมพวกเราถึงยังใช้พลาสติกกันอยู่? ซึ่งผู้เขียนก็เชื่อว่าผู้อ่านทุกท่านคงคิดเหมือนกัน แต่ถ้าหากกล่าวเช่นนั้นก็ถือว่าเราได้กล่าวโทษพลาสติก แต่ในความเป็นจริงแล้วหากเราทำใช้และกำจัดพลาสติกให้ถูกวิธี พลาสติกจะถือว่าเป็นสิ่งที่สร้างประโยชน์ให้กับเราได้ในหลายๆแง่ได้เลย 

Plastic Cup Tequila Sunrise with Lemon and Orange Slices
Photo by Timur Weber

บางครั้งผู้เขียนเองในฐานะผู้ขายบรรจุภัณฑ์ ก็รู้สึกว่าเราทำหน้าที่ไม่ต่างไปจากแพทย์ผู้ให้การรักษาคนไข้ตามโรงพยาบาล ต่างบริบทกันเพียง แพทย์ ทำการรักษาคนไข้ให้บรรเทา หรือหายจากอาการเจ็บป่วยที่ได้รับ ซึ่งคนขายบรรจุภัณฑ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือ ในการตอบสนองความต้องการด้านบรรจุภัณฑ์ที่จะนำไปใช้ ให้ได้ตรงกับวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งก็จะช่วยให้ธุรกิจ หรือกิจการของลูกค้า ได้ดำเนินไป ในทิศทางที่ควรจะเป็น

“เอ๊ะ! พลาสติกไม่ได้มีแค่แบบเดียวหรอ?” คำถามจากลูกค้าหลายๆท่านเมื่อทราบว่า พลาสติกนั้นมีอยู่หลายประเภท

ใช่แล้วครับ พลาสติกไม่ได้มีอยู่ประเภทเดียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้ จึงทำให้วัสดุและกรรมวิธีที่ใช้ในการผลิตพลาสติกชนิดต่างๆก็จะไม่เหมือนกัน และทางผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพลาสติกทุกประเภทเอาไว้ให้ในบทความนี้ โดยแบ่งตามสัญลักษณ์ที่ระบุบนบรรจุภัณฑ์สำหรับพลาสติกที่ รีไซเคิลได้ ดังด่านล่างครับ

พลาสติก รูปแบบที่ 1 PETE หรือ Polyethylene Terephthalate ซึ่งพลาสติกประเภทนี้มีคุณสมบัติที่คงทนแข็งแรงและให้ความใสเป็นพิเศษ เหมาะสำหรับการนำไปทำเป็นถ้วยน้ำ ขวดน้ำ ที่ต้องการแสดงถึงรายละเอียดของเครื่องดื่ม โดยพลาสติกประเภทนี้จะทนความร้อนได้ถึง 70-80 องศาเซลเซียส

พลาสติก รูปแบบที่ 2 HDPE หรือ High-density Polyethylene หรือ พลาสติก (พอลิเอทิลีน) ที่มีความหนาแน่นสูง คุณสมบัติการทนความร้อนถึง 80 – 100 องศาเซลเซียส และความทึบแสงเป็นจุดเด่น มีความยืดหยุ่น ทนต่อการตกหล่นและการกระแทก ซึ่งพลาสติกประเภทนี้จะใช้สำหรับการทำแกลลอนใส่นม หรือจะนำไปใช้สำหรับการบรรจุเคมีภัณฑ์ต่างๆที่มีเป็นกรดหรือเบสสูงๆ เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ หรือของจำพวกของเล่นเป็นต้น

พลาสติก รูปแบบที่ 3 PVC หรือ Polyvinyl chloride (พอลีไวนิล คลอไรด์) ทนความร้อนได้เพียง 60 – 70 องศาเซลเซียส มีความคงทนแข็งแรงเป็นอย่างมาก ทนต่อการแรงกดและการกระแทกเป็นอย่างดี เหมาะสำหรับการนำไปทำชั้นพื้น ขอบหน้าต่าง และพวกท่อประปา หรือที่เราเรียกกันว่าท่อ PVC

พลาสติก รูปแบบที่ 4 LDPE หรือ Low-density Polyethylene หรือ พลาสติก (พอลิเอทิลีน) ที่มีความหนาแน่นต่ำ ต่างกับ HDPE ที่ตัวพลาสติกชนิดนี้ทนความร้อนได้ถึงแค่ 70 องศาเซลเซียส เท่านั้น มีความเหนียวและยืดหยุ่นโดยพลาสติกประเภทนี้นำไปสร้างของจำพวกถุงพลาสติก ขวดซอสประเภทบีบ และฟิลม์ใสห่อสินค้าเป็นต้น

พลาสติก รูปแบบที่ 5 PP หรือ Polypropylene ซึ่งพลาสติกประเภทนี้จะมีความใสในระดับหนึ่งแต่ไม่เท่ากับ PETE จุดเด่นทนความร้อนได้มากถึง 120 องศาเซลเซียส มีความเหนียวคงทนและยืดหยุ่นทนการดัดงอ โดยพลาสติกประเภทนี้มักจะนำไปใช้ในการผลิต กล่องไมโครเวฟ ฝาขวดน้ำพลาสติก หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่ถึงแม้จะทนความร้อนได้ในระดับหนึ่ง แต่การนำเข้า Microwave จะต้องตรวจสอบสัญลักษณ์ภายใต้บรรจุภัณฑ์ก่อนเสมอ

พลาสติก รูปแบบที่ 6 PS หรือ Polystyrene  โดยพลาสติกประเภทนี้จะมีความใสมากที่สุดในบรรดาพลาสติกทุกชนิดที่กล่าวมาทั้งหมด ซึ่งเหมาะสมกับการนำไปผลิตถ้วยพลาสติกและบรรจุภัณฑ์ชนิดใช้แล้วทิ้ง แต่ความสวยงามก็ต้องพร้อมกับความบอบบาง ซึ่งพลาสติกนี้แตกหักได้ง่ายมาก รวมถึงทนความร้อนได้ไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส จึงไม่เหมาะกับการนำไปใช้กับใส่อาหารร้อนและรวมถึงการใช้งานที่ต้องใช้ความทนทานสูง

พลาสติก รูปแบบที่ 7 Others (อื่นๆ) ได้ถูกแบ่งย่อยดังต่อไปนี้

Polymide (PA) หรือที่เรียกกัน ไนลอน (Nylon) เป็นพลาสติกที่ทนความร้อนได้สูงมาก โดยสามารถคงรูปทรงของตัวเองไว้ได้ถึงอุณหภูมิ 150 – 180 องศาเซลเซียส มีความแข็งแกร่งคงทนต่อแรงกระแทกเป็นอย่างดี เหมาะกับการนำไปใช้การผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อุปกรณ์กีฬาเป็นต้น

Acrylonitrile Butadiene Styrene (ABS) เป็นพลาสติกที่มีความแข็ง เหนียว ทนแรงกระแทก และการเสียดสีได้ดี ทนความร้อน โดยไม่โก่งตัวหรือบิดงอ ในสภาวะที่มีความเค้น หรือต้องเผชิญต่อการเปลี่ยนอุณหภูมิอย่างเฉียบพลัน (โดยทั้งหมดที่กล่าวมานั้นขึ้นอยู่กับส่วนผสมทางเคมีด้วย) คุณสมบัติเด่นของ ABS คือ สามารถนำมาผ่านกระบวนการขึ้นรูปเพื่อให้ชิ้นงานมีผิวเงา หรือด้านได้ตามต้องการ อุตสากรรมที่นิยมนำพลาสติกชนิดนี้มาใช้งาน คือ อุตสาหกรรมยานยนต์ ของเล่นเด็ก หรือ กระเป๋าเดินทาง

Polymethylmethacrylate (PMMA) หรือที่รูจักกันในชื่อว่า “อะคริลิค” เป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติโปร่งใสมากกว่า 90% เหนียว แข็งทนแรงกระแทกได้ดี ใช้ทดแทนกระจก หรือแก้วได้เป็นอย่างดี ทนความร้อนโดยไม่สูญเสียรูปทรงได้ถึง 70-80 องศาเซลเซียส มักนำมาผลิตเป็นตู้ปลา กล่องป้ายโฆษณา และงานก่อสร้าง

Polycarbonate(PC) เป็นพลาสติกโปร่งใส ทนความร้อนได้ถึง 120 – 140 องศาเซลเซียส รวมถึง ทนต่อกรด และแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี ใช้นำมาผลิตภัณฑ์ได้อย่างมากมาย เช่น ขวดนมเด็ก แว่นตา เลนส์ ไฟหน้ารถยนต์ ป้ายโฆษณา รวมถึงกระจกกันกระสุน และ กระจกนิรภัย

 
 

พลาสติก รูปแบบที่ 7 Others (อื่นๆ) พลาสติกประเภทนี้มีการรีไซเคิลที่ซับซ้อนมากกว่าประเภทอื่นๆ โดยมากเราจะนำพลาสติกในกลุ่มนี้ไปฉีกย่อยให้เป็นชิ้นเล็กๆก่อน จึงนำไปทำความสะอาด จัดเรียงตามสีและรูปทรงที่ได้ออกมา จึงนำเข้าเตาหลอมและเป่าขึ้นรูปใหม่ ตามที่วิธีการที่กล่าวไปข้างต้น ทำให้จุดหลอมเหลว และผลผลิตจากพลาสติกชนิดนี้จึงไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน

ทางผู้เขียนได้เขียนสรุปในรูปแบบตารางเปรียบเทียบไว้ให้สำหรับคุณผู้อ่าน ตามด้านล่างเลยครับ

ชื่อ

จุดหลอมเหลว หน่วย °C
(อุณหภูมิที่เหมาะสม)

คุณสมบัติ

การใช้งาน

Polyethylene Terephthalate (PETE)

70 – 80

ทนทาน มีความยืดหยุ่นในตัวระดับหนึ่ง มีความใสเป็นพิเศษ

·        ถ้วยน้ำ สำหรับบรรจุเครื่องดื่มเย็น

·        ขวดน้ำดื่ม

·        กล่องใส่อาหารที่ปรุงสุกแล้ว

High-density Polyethylene (HDPE)

80 – 100

ทึบแสง มีความยืดหยุ่น ทนต่อการตกหล่นและการกระแทก

·       แกลลอนใส่นม

·       บรรจุภัณฑ์สำหรับใส่เคมีภัณฑ์

Polyvinyl chloride (PVC)

60 – 70

มีความคงทนแข็งแรงเป็นอย่างมาก ทนต่อการแรงกดและการกระแทกเป็นอย่างดี

·       ทำชั้นพื้น

·       ขอบหน้าต่าง

·       ท่อประปา หรือ ท่อ PVC

Low-density Polyethylene (LDPE)

70

มีความเหนียวและยืดหยุ่นสูง

·       ถุงพลาสติก

·       ขวดซอสประเภทบีบ

·       ฟิลม์ใสห่อสินค้า

Polypropylene (PP)

120

ทนความร้อนสูง มีความเหนียวคงทนและยืดหยุ่นทนการดัดงอ

·       กล่องไมโครเวฟ

·       ฝาขวดน้ำพลาสติก

·       ฟิลม์ใสห่อสินค้า

Polystyrene (PS)

70

ใสมาก แต่เปราะบางและไม่ทนต่อความร้อน

·       ถ้วยพลาสติก

·       บรรจุภัณฑ์ใช้แล้วทิ้ง

Others

Polymide (PA)

150-180

ทนความร้อนได้สูงมาก แข็งแกร่งคงทนต่อแรงกระแทกเป็นอย่างดี

·       ชิ้นส่วนรถยนต์

·       ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

·       อุปกรณ์กีฬา

Acrylonitrile Butadiene Styrene (ABS)

ขึ้นอยู่กับส่วนผสม

แข็งและเหนียว ทนแรงกระแทก และการเสียดสีได้ดี ทนความร้อน โดยไม่โก่งตัวหรือบิดงอ ในสภาวะที่มีความเค้น

·       ชิ้นส่วนรถยนต์

·       ของเล่นเด็ก

·       กระเป๋าเดินทาง

Polymethylmethacrylate (PMMA)

70-80

เป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติโปร่งใสมากกว่า 90% เหนียว แข็งทนแรงกระแทกได้ดี ใช้ทดแทนกระจกหรือแก้วได้

·       ตู้ปลา

·       กล่องป้ายโฆษณา

·       งานก่อสร้าง

Polycarbonate (PC)

120-140

ทนความร้อน ทนต่อกรด และแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี 

ขวดนมเด็ก, แว่นตา, เลนส์ ไฟหน้ารถยนต์,
ป้ายโฆษณา, รวมกระจกกันกระสุน และกระจกนิรภัย

พลาสติกจะส่งผลเสียต่อสุขภาพเราหรือไม่ ควรเลือกใช้อย่างไร?

 

ทางผู้เขียนอยากขอแนะนำว่า ให้สังเกตตามฉลากว่ามีเครื่องหมายกำกับดังภาพด้านบน ซึ่งเรียกว่า Food Contact Material Symbol แต่ถึงกระนั้นก็ตามที การใช้งานพลาสติกกับอาหารจะต้องปฎิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด โดยไม่นำพลาสติกไปใช้กับสินค้าที่มีความร้อนที่มากจนเกินไป เพื่อความปลอดภัยสำหรับสุขภาพผู้บริโภคและความยั่งยื่นในงานบริการครับ

สุดท้ายนี้ทางผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณผู้อ่านทุกท่าน และขอขอบพระคุณคุณลูกค้าที่ไว้วางใจ บริษัท คิชเช่นคลาส 1993 จำกัด ให้ช่วยดูแลและอยู่เคียงข้างท่านเสมอมา